โดยพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยคัดเลือกแสงเฉพาะที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช หรือคัดเลือกคลื่นแสงและควบคุมสัดส่วนในช่วง PAR (photosynthesis active radiation หรือช่วงแสงระหว่าง 400-700 นาโนเมตร) ที่มีผลต่อการสังเคราะห์แสง ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยกระจายแสงในโรงเรือนให้เท่าเทียมกัน และตัดคลื่นแสงที่พืชไม่ต้องการใช้ เช่น รังสีอัลตราไวโอเลตในบางคลื่นแสง (ultraviolet), รังสีอินฟราเรด (Infrared rays) ทำให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนลดลง พืชไม่เครียด ผลผลิตสวยงามขึ้น ซึ่งเหมาะกับภูมิอากาศร้อน ชื้นอย่างประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง
พลาสติกคลุมโรงเรือนชนิดคัดเลือกแสง VSC สามารถใช้ได้กับทั้งพืชชนิดใบและดอก ทำให้เกษตรกรได้รับ ผลผลิตที่มีคุณภาพดีขึ้น ทั้งขนาด, สี, รูปทรง และรสชาติ เช่น ดอกหน้าวัว สีสวยและขนาดใหญ่ขึ้น, พริก สีสวย และรสชาติเผ็ดมากขึ้นเป็นต้น นอกจากนี้ยังช่วย ให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น เมื่อเทียบกับพลาสติกคลุมโรงเรือนสูตรปกติอีกด้วย
ด้วยเทคโนโลยีเพื่อโลกสีเขียว โดยได้รับการคิดค้น ออกแบบและพัฒนาทางด้านวัสดุศาสตร์ร่วมกับทีมนักวิจัยของ คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยใช้วัตถุดิบเหลือใช้อย่าง “กากกาแฟ” จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ 100% และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน
“ถุงปลูกย่อยสลายทางชีวภาพ วีเอสซี” (VSC Degradable Grow Bag) เป็นสินค้าทางเลือกใหม่ที่ช่วยลดปริมาณขยะจำนวนมาก จากการใช้พลาสติกเพื่อการเพาะกล้าไม้ ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดขั้นตอนของการนำต้นกล้าปลูกลงดินได้อย่างสะดวกและลดการสูญเสีย ด้วยคุณสมบัติที่ดีของพลาสติกดังกล่าวยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้สำหรับกลุ่มธุรกิจบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ได้อีกด้วย เช่น ชุดของใช้ในห้องน้ำโรงแรม (hotel amenities), บรรจุภัณฑ์อาหาร เป็นต้น
พลาสติกคลุมแปลงดินสีดำเกรดรักษ์โลกผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง โดยสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ 100% โดยไม่ก่อให้เกิด มลภาวะในดินโดยพลาสติกประเภทนี้มีค่าความแข็งแรงดี ยืดหยุ่นได้ดี จึงใช้กับเครื่องปูฟิล์มอัตโนมัติได้ ช่วยลดระยะเวลาในการปูได้
ฟิล์มประเภทนี้สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตได้ดี โดยที่สามารถทดแทนพลาสติกแบบดั้งเดิมได้ และยังให้ค่าทึบแสงที่ดี จึงช่วยลดการ เกิดของวัชพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ประหยัดเวลาและแรงงานสำหรับผู้ปลูกอีกด้วย
วิกฤตสิ่งแวดล้อมและผลพวงจากปัญหาขยะพลาสติกในประเทศไทยได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้เราได้ตระหนักถึงแนวทางในการแก้ไขอย่างยั่งยืน (sustainability) นอกจากการนำเศษเสียพลาสติกในกระบวนการผลิตกลับมาใช้แล้ว (PIR) VSC ได้ทำการพัฒนาพลาสติกหดรัดสินค้าแบบย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ (biodegradable) โดยใช้ปัจจัย 3 อย่าง คือ แสงอาทิตย์, ความชื้น, และอากาศ ในการช่วยให้จุลินทรีย์เริ่มทำการย่อยสลาย โดยสามารถประมาณการที่พลาสติกจะย่อยสลายได้หมดได้ เช่น ย่อยสลายภายใน 2-3 ปี เป็นต้น โดยพลาสติกประเภทนี้ ยังให้ค่าความใส และความแข็งแรง (mechanical strengths) เทียบเท่ากับพลาสติกหดรัดแบบปกติ จึงสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมระยะยาวอีกด้วย
เม็ด PCR (หรือ Post-Consumer Recycled Plastic) หรือการนำเอาพลาสติกที่ผ่านการใช้งานแล้ว มาผลิตเป็นพลาสติกรีไซเคิล เพื่อนำมาขึ้นรูปเป็นสินค้าใหม่ ให้สามารถนำไปใช้งานซ้ำได้อีกครั้ง นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด Circular Economy หรือระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เนื่องจากเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยลดปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก และพลาสติก PCR จะปล่อยก๊าซ (Carbon Footprint) ออกมาสู่บรรยากาศน้อยกว่าพลาสติกทั่วไปเฉลี่ย 25%
พลาสติกหดรัดสินค้าประเภทนี้ยังให้คุณสมบัติและความแข็งแรงตามเดิม โดย VSC ตั้งเป้าที่จะใช้เม็ดพลาสติก PCR มากขึ้นในพลาสติกหดรัดสินค้าให้มากขึ้นถึง 50% และจะใช้ในพลาสติกอุตสาหกรรมอื่นๆอีก เช่น พลาสติกคลุมพาเลท, คอนเทนเนอร์ไลน์เนอร์ เป็นต้น