ฟิล์มคลุมโรงเรือน (UV protect clear film)
พลาสติกคลุมโรงเรือนแบบกระจายแสง (UV protect diffused film)
พลาสติกคลุมโรงเรือนชนิดกันแมลง
ฟิล์มคลุมโรงเรือนป้องกันหยดน้ำ
ฟิล์มคลุมโรงเรือนป้องกันตะไคร่/เชื้อรา
ฟิล์มคลุมโรงเรือนชนิดคัดเลือกแสง (photoselective film)
ฟิล์มคลุมโรงเรือนชนิดกันความร้อน (cooling diffused film)
พลาสติกคลุมโรงเรือนมาตรฐาน เหมาะสำหรับพืชที่ต้องการใช้แสงในการเจริญเติบโตมาก โดยที่เปอร์เซ็นต์การส่องผ่านของแสงในช่วง PAR (400-700 นาโนเมตร) อยู่ที่ 89-91% (light trasmission in PAR = 89-91%) โดยพลาสติกมีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้:
ทำให้ฟิล์มของเราสามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้งานเป็นอย่างดีทั้งตลาดในประเทศและส่งออกไปอีกหลายประเทศทั่วโลก เช่น ประเทศอิตาลี, ญี่ปุ่น, กัมพูชา, ลาว, พม่า, เนปาล, ศรีลังกา, บังคลาเทศ, แอฟริกาใต้, แซมเบีย เป็นต้น
พลาสติกคลุมโรงเรือนชนิดกระจายแสง (diffused film) เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับภูมิอากาศร้อนอย่างประเทศไทย เนื่องจากช่วยให้เกิดการกระจายแสงในโรงเรือนที่มากและทั่วถึงมากขึ้น
ทำให้พืชสามารถสังเคราะห์แสงได้ดียิ่งขึ้น โดยที่ไม่ได้ลดเปอร์เซ็นต์การส่องผ่านของแสงโดยเฉพาะในช่วง PAR (Photosynthetically Active Radiation)
หรือช่วงที่พืชใช้ในการสังเคราะห์แสงระหว่าง 400-700 นาโนเมตร
นอกจากนี้อีกประโยชน์ที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ ช่วยป้องกันปัญหาใบไหม้/ดอกไหม้ อันเนื่องจากแสงที่ส่องผ่านโดยตรง
ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดีมากขึ้น เกษตรกรสามารถขายได้ราคาที่ดีกว่าเดิม
ประโยชน์จากการใช้พลาสติกคลุมโรงเรือนแบบกระจายแสง (diffused film):
แมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ, แมลงหวี่ขาว, หนอนผีเสื้อ เป็นต้น เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของการกสิกรรมในประเทศ โดยพบว่าในแต่ละปี เกษตรกรไทยต้องเสียผลผลิตไปมากถึง 10-30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากศัตรูพืชชนิดต่างๆ ด้วยเหตุนี้ เราจึงพัฒนาและคิดค้นพลาสติกคลุมโรงเรือนที่ช่วยจัดการปัญหานี้โดยเฉพาะ
พลาสติกคลุมโรงเรือนประเภทนี้ ใช้หลักการในการดูดกลืนคลื่นแสงที่แมลงจำเป็นต้องใช้ในการมองเห็นออกไป ทำให้แมลงมองไม่เห็น จนไม่สามารถเข้ามาในโรงเรือนได้ (ดังเช่นที่มนุษย์ใช้แสง หรือ visible light ในการมองเห็น) จึงช่วยลดความเสียหายของผลผลิตโดยตรง เนื่องจากแมลงศัตรูพืชเป็นพาหะที่ทำให้เกิดการระบาด และแพร่กระจายของโรคพืช เช่น โรคใบหด ใบหงิก ลำต้นแคระแกรน เป็นต้น
นอกจากนี้เกษตรกรสามารถลดการใช้สารเคมีในการใช้ยาฆ่าแมลง ทำให้ช่วยลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตไร้สารตกค้างปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หากเกษตรกรต้องการใช้ผึ้งในการช่วยผสมเกสรในโรงเรือน ก็ไม่แนะนำให้ใช้พลาสติกคลุมโรงเรือนประเภทนี้
แมลงศัตรูพืชในโรงเรือน ทำให้ผลผลิตเสียหาย
พลาสติกป้องกันแมลงศัตรูพืช ทำให้ผลผลิตดี ได้ราคา
หยดน้ำจะเกิดที่ผิวด้านในของฟิล์มคลุมโรงเรือน อันเนื่องมาจากความชื้น และอุณหภูมิที่แตกต่างกันระหว่างภายในโรงเรือน กับภายนอกโรงเรือน ซึ่งจะทำให้แสงส่องผ่านลดลงประมาณ 15-30% และอาจทำให้พืชเกิดโรคได้ ฟิล์มคลุมโรงเรือนป้องกันหยดน้ำ จะใส่สารเติมแต่งพิเศษชนิด Anti-dripping เพื่อช่วยให้หยดน้ำไหลลงมาตามความโค้งของฟิล์ม และทำให้หยดน้ำไม่สัมผัสลงสู่พืชโดยตรง จึงสามารถใช้ได้กับพืชทุกชนิด
ประโยชน์ของพลาสติกคลุมโรงเรือน ชนิดป้องกันหยดน้ำ:
พลาสติกคลุมโรงเรือนที่เกิดปัญหาตะไคร่ ทำให้แสงส่องผ่านได้น้อยลง
ฟิล์มคลุมโรงเรือนป้องกันตะไคร่/เชื้อรา ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กต่างๆ (microorganisms) ที่อาจเติบโตบนแผ่นฟิล์ม เช่น เชื้อรา,ตะไคร่,แบคทีเรีย,ยีสต์ เป็นต้น เพราะหากมีสิ่งมีชีวิตเหล่านี้อยู่บนฟิล์ม จะทำให้เกิดเป็นคราบสกปรก และยังลดเปอร์เซ็นต์ของแสงที่ส่องผ่าน (light transmission) ลงสู่พืชในโรงเรือน ทำให้พืชไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร การเลือกใช้ฟิล์มคลุมโรงเรือนประเภทนี้ จะช่วยตอบโจทย์แก่เกษตรกรที่ต้องการฟิล์มใสสะอาด ถึงแม้จะผ่านอายุการใช้งานไปเป็นปี เนื่องจากฟิล์มคลุมโรงเรือน หากเจออากาศที่แปรปรวนระหว่างกลางวันและกลางคืนเยอะ หรือเจอความชื้นมากๆ ก็อาจทำให้เกิดคราบบนฟิล์มได้ โดยสารเติมแต่งประเภทนี้ จะสามารถอยู่ได้ตลอดอายุการใช้งานของฟิล์ม
ฟิล์มคลุมโรงเรือนชนิดคัดเลือกแสง VSC เป็นพลาสติกสูตรใหม่ล่าสุดของเรา ที่คิดค้นและพัฒนามาเพื่อช่วยควบคุมสัดส่วนช่วงแสงที่ส่องเข้ามาในโรงเรือนโดยเฉพาะ
ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น และยังมีประโยชน์อีกต่างๆ มากมาย ดังนี้
ประโยชน์ของพลาสติกชนิดคัดเลือกแสง
1. ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช และช่วยเพิ่มสารอาหารหรือคุณประโยชน์ทางโภชนาการในพืชได้ เช่น ทำให้พริกมีรสเผ็ดขึ้น เมื่อสภาพภายในโรงเรือนมีการกรองรังสีที่ไม่จำเป็นหรือเป็นอันตรายต่อพืชออกไป ทำให้พืชได้รับแสงบางช่วงความยาวคลื่นที่มีผลต่อการเจริญเติบโตเต็มที่ ส่งผลให้พืชสามารถสร้างสารเคมีบางชนิดได้มากขึ้น เช่น สารเคมีที่ให้รสเผ็ดร้อน เป็นต้น
2. ตัดแสงที่อันตรายต่อพืช เช่น รังสียูวี และรีงสีอินฟราเรด จึงช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนได้ด้วย
3. ลดการเข้าทำลายจากแมลงศัตรูพืช เช่น แมลงวันทอง ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพืชที่อาศัยช่วงรังสี (ที่ถูกกรองออก) ในการแพร่กระจาย ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า แมลงศัตรูพืชหลายชนิดอาศัยรังสียูวีในการมองเห็น ดังนั้นในโรงเรือนที่คลุมด้วยฟิล์มพลาสติกคัดกรองแสง สายตาของแมลงจะมองเห็นสภาพแสงในโรงเรือนมีลักษณะค่อนข้างมืด ซึ่งส่งผลให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยหรือแพร่พันธุ์ของแมลง ดังนั้นแมลงจะถูกจำกัดปริมาณ หรือพยายามออกจากโรงเรือน
4. เพิ่มการกระจายแสงในโรงเรือน ทำให้พืชได้รับแสงเท่าเทียมกันมากขึ้น
5. ระยะเวลาเก็บผลผลิตสั้นลง ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น
ในแสงแดดประกอบด้วยรังสีในช่วงต่างๆ แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่า การสังเคราะห์แสงในพืชส่วนใหญ่เกิดจากการกระตุ้นของแสงสว่างเพียงแค่บางช่วงความยาวคลื่นที่ดวงตามนุษย์มองเห็นเท่านั้น
แสงสีขาวที่ตามนุษย์มองเห็น เป็นแสงที่มีช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 400-700 นาโนเมตร ขณะที่พืชสามารถดูดกลืนแสงได้มากเป็นพิเศษที่ 2 ช่วงความยาวคลื่นคือ แสงช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 400-500 นาโนเมตร ซึ่งประกอบด้วยแสงสีม่วง สีน้ำเงิน และสีเขียว กับแสงสีแดงที่มีความยาวช่วงคลื่นระหว่าง 600-700 นาโนเมตร โดยแสงสีแดงเป็นแสงที่พืชสามารถดูดกลืนไว้ได้มากที่สุด และมีอิทธิพลต่อการออกดอกของพืชด้วย ทั้งนี้พืชแต่ละชนิดและสายพันธุ์จะตอบสนองต่อช่วงความยาวคลื่นแสงแตกต่างกัน
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ภูมิอากาศมีลักษณะร้อนชื้น ทั่วประเทศมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 19-38 องศาเซลเซียส
อากาศจะร้อนที่สุดประมาณช่วงเดือนเมษายน อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปัญหาโลกร้อน (global warming) ส่งผลกระทบทำให้อุณหภูมิทั่วโลกสูงขึ้นในทุกๆปี
ซึ่งผลเสียต่อทั้งด้านนิเวศวิทยา, เศรษฐกิจ, สุขภาพ, และยังส่งผลเสียต่อผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างมากอีกด้วย
ในหน้าร้อนจัดนั้น อุณหภูมิในโรงเรือน อาจสูงได้ถึง 50 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช ทำให้ผลผลิตเสียหาย
การเลือกใช้พลาสติกสูตรลดความร้อนและกระจายแสง (VSC cooling diffused film) สามารถช่วยลดอุณหภูมิได้เป็นอย่างดี ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น
ประโยชน์ของพลาสติกลดความร้อนและกระจายแสง VSC
1. ลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน ได้เฉลี่ย 3-5 องศาเซลเซียส หรือมากกว่านั้นในบางพื้นที่ เมื่อเทียบกับโรงเรือนที่ใช้พลาสติกสูตรมาตรฐาน (เก็บข้อมูลปี 2562, ประเทศไทย)
2. ผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้น ทั้งขนาด, รูปทรง, รสชาติ, สี โดยเฉพาะน้ำหนักของผลผลิตที่มากขึ้นกว่าเดิม
3. ป้องกันปัญหาดอกไหม้/ใบไหม้
4. สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วกว่าการใช้พลาสติกสูตรมาตรฐาน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าน้ำ, ค่าปุ๋ย เป็นต้น
5. สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการทำงานในโรงเรือนมากขึ้น พนักงานสบายตัว ไม่ร้อน
ระยะเวลาการทดลอง : 2 ปี
ผลจากการทดลอง :
VSC ได้ร่วมพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลาสติกปูบ่อสำหรับการทำฟาร์มกุ้งขาว ให้กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) มาตั้งแต่ปี 2543 เพื่อปรับปรุงการเลี้ยงกุ้งให้มีความสะอาดปลอดภัย ช่วยป้องกันการติดโรค และสามารถเร่งรอบในการผลิตได้ จนเป็นต้นแบบให้ฟาร์มกุ้งอื่นๆ นำไปใช้ทั่วประเทศ
ปัจจุบันทางบริษัทฯ ได้พัฒนาเทคโนโลยีในการผลิต โดยใช้เครื่องจักรอันทันสมัยจากยุโรป (State-of-the-art Extrusion Machine) มาผลิตสินค้าอื่นๆเพื่อส่งเสริมการทำฟาร์มกุ้ง/ปลาเพิ่มเติม คือ แผ่น HDPE Geomembrane และพลาสติกเนอสเซอรี่ขาว-ดำ ขนาดใหญ่ 13 เมตร เพื่อช่วยควบคุมสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโตอีกด้วย