ในปัจจุบันคนนิยมหันมาปลูกพืชผัก ผลไม้กันมากขึ้น ไม่ว่าจะปลูกไว้เพื่อรับประทานกันเองภายในครอบครัว หรือเพื่อทำการเกษตรสร้าง รายได้เสริม อย่างแรกก่อนที่จะเริ่มปลูกผักทุกชนิดต้องมีการเตรียมความพร้อมในด้านความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับพืชที่จะปลูก เช่น อุณหภูมิที่เหมาะสม ในการปลูก, ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยว, โรคพืชต่างๆ เป็นต้น หลังจากศึกษาข้อมูลในการปลูกเป็นอย่างดีแล้ว สิ่งที่ผู้ปลูกควรให้ความสำคัญ คือ “การเลือกรูปแบบโรงเรือน” เพราะจะช่วยส่งเสริมให้การปลูกได้ประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะ โรงเรือนแต่ละรูปแบบ มีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกัน ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำรูปแบบโรงเรือนปลูกผักมีกี่แบบ และแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้ออกแบบโรงเรือนให้เหมาะสมกับ ชนิดพืชผักที่ต้องการปลูก
โรงเรือนปลูกผัก จะมีหลักๆด้วยกันทั้งหมดอยู่ 3 แบบคือ
สำหรับโรงเรือนทรงโค้ง จุดเด่นอยู่ที่ราคาถูกที่สุด เนื่องจากตัวโรงเรือนมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อน ทำให้ติดตั้งได้ง่าย ซึ่งทุกคน สามารถติดตั้งด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งช่างและทรงโค้งจะช่วยทำให้การไหลของน้ำดีมากขึ้นในช่วนฝนตก ทำให้น้ำฝนไหลตามทรงโค้งได้ง่าย อีกทั้งเป็นทรงที่ไม่ต้านแรงลมมากที่สุดในทั้ง 3 แบบจึงติดตั้งได้ทุกที่
ส่วนข้อเสียของโรงเรือนทรงโค้งคือ การระบายความร้อน จะระบายความร้อนได้น้อยที่สุด เนื่องจากไม่มีช่องระบายอากาศ ด้านบนทำให้เกิดความร้อนสะสมอยู่ภายในโรงเรือนมากเกินไป มักจะนิยมใช้ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น
ซึ่งโรงเรือนรูปแบบนี้สามารถปลูกได้ทั้งผักสลัด,ผักกินใบ, เมล่อน, ดอกดาวเรือง ,มะเขือเทศ, แคคตัส เป็นต้น
สำหรับโรงเรือนทรง ก.ไก่ เป็นรูปแบบโรงเรือนที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากมีราคาไม่สูงมาก สามารถลดอุณหภูมิได้ดีกว่าโรงเรือน รูปแบบทรงโค้งเนื่องจากหลังคามีช่องเปิด 1 ช่องสำหรับให้อากาศไหลผ่าน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มอัตราหมุนเวียนอากาศภายในโรงเรือนได้ดีขึ้นอีก ด้วยโรงเรือนปลูกผักทรงก.ไก่นี้จะเหมาะกับลักษณะภูมิอากาศแบบประเทศไทยเราเป็นอย่างมาก
ส่วนข้อเสียของโรงเรือนทรง ก.ไก่คือ ต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการติดตั้งพอสมควร ดังนั้นจะไม่เหมาะกับการติดตั้งด้วย ตัวเองและต้องติดตั้งไม่ให้สวนกับทิศทางของลม ถ้าสวนทางลมอาจจะทำให้โรงเรือนเสียหายได้ง่ายในพื้นที่ลมแรงมากๆ
ซึ่งโรงเรือนรูปแบบนี้เหมาะกับการปลูก ผักกาดแก้ว, ผักสลัด, แตงโม, เมล่อน, แคนตาลูป, มะเขือเทศ, พริกหวาน เป็นต้น
สำหรับโรงเรือนทรงจั่ว 2 ชั้น จะมีจุดเด่นเรื่อง การระบายอากาศได้ดีที่สุดจากทั้ง 3 แบบ เนื่องจากอากาศที่อยู่ภายในโรงเรือนจะ ลอยตัวขึ้นสู่ด้านบนผ่านช่องทางระบายอากาศด้านบนของโรงเรือนได้ทั้ง 2 ฝั่ง และอากาศที่อยู่ภายนอกโรงเรือนจะไหลเข้ามาแทนที่ ส่งผลให้ อากาศภายในโรงเรือนมีการหมุนเวียนได้ดี จึงทำให้อากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวกและง่ายขึ้น ช่วยทำให้ภายในโรงเรือนมีอุณหภูมิที่ต่ำมากที่ สุดในทั้ง 3 แบบ อีกทั้งยังช่วยกันฝนสาดได้เป็นอย่างดี แม้ในช่วงที่ฝนตกหนัก น้ำฝนก็ไม่สาดเข้ามาภายในโรงเรือน
ในส่วนของข้อเสียก็ยังมีเช่นกัน เนื่องจากตัวโรงเรือนมีโครงสร้างที่มีความซับซ้อนมาก ทำให้การติดตั้งอาจทำได้ยาก โดย ต้องมีความชำนาญสูงจึงไม่สามารถติดตั้งด้วยตัวเองได้ ทำให้โรงเรือนรูปแบบนี้มีราคาที่ค่อนข้างสูง (รูปทรงนี้เหมาะกับการลงทุนระยาว เป็นผลผลิตที่มีราคาสูงหรือจำเป็นต้องปลูกในพื้นที่อุณหภูมิต่ำ)
ซึ่งโรงเรือนรูปแบบนี้จะเหมาะกับการปลูก แตงโม, เมล่อน, แคนตาลูป, มะเขือเทศ, พริกหวาน, องุ่น, สตรอว์เบอร์รี่, ผักกาดหอม, ผักสลัดกรีนโอ๊ค และพืชทุกชนิดที่ใช้อุณหภูมิต่ำ ในการเติบโต เป็นต้น
จากข้อมูลรูปแบบโรงเรือนปลูกผักทั้งหมดเป็นเพียงส่วนนึงในการตัดสินใจสร้างโรงเรือนเท่านั้น ดังนั้นการที่จะเลือกว่าเราจะใช้โรงเรือนปลูกผักแบบ ไหนให้เหมาะสมดีนั้น นอกจากจะดูในเรื่องของรูปแบบโรงเรือนแต่ละแบบ ว่าเหมาะกับประเภทผักที่เราต้องปลูกไหมแล้วนั้น จะต้องคำนึงถึงต้นทุน ในการทำโรงเรือนควบคู่ไปกับราคาของพืชผักที่เราต้องการจะปลูกด้วย อีกทั้งยังต้องคำนึงในเรื่องของอุณหภูมิภายในโรงเรือน เพราะอุณหภูมิที่ เหมาะสมจะช่วยทำให้พืชของเราเจริญเติบโตได้ดี และการที่พืชจะเจริญเติบโตได้ดีแล้วนั้นไม่ใช่แค่เลือกรูปแบบโรงเรือนให้เหมาะสม แต่ยังรวม ไปถึงพลาสติกที่ใช้คลุมโรงเรือนก็มีส่วนที่ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโต และผลผลิตของพืชได้เหมือนกัน