เนื่องจากสามารถเลี้ยงได้ง่าย ให้กินแค่ต้นหญ้าพร้อมกับมีโรงเรือนกันฝนก็สามารถเลี้ยงได้แล้ว อายุประมาณ30-40วันก็สามารถเก็บ นำไปขายได้ โดยเฉพาะไข่ตั๊กแตนที่มีมูลค่าสูงถึงกิโลกรัมละ 10,000บาท ซึ่งเป็นที่ต้องการในตลาดอย่างมากเพราะสามารถนำมาประกอบ อาหารได้หลากหลาย มีโปรตีนสูงและมีกรดอมิโนเทียบเท่าเนื้อสัตว์บางชนิด อีกทั้งคอเลสเตอรอลต่ำดีต่อคนที่กำลังดูแลสุขภาพ อีกทั้ง สหภาพยุโรปหรือ EU ยอมรับแล้วว่าเป็นอาหารใหม่จึงเป็นที่นิยมอย่างมากทั้งในไทยและต่างประเทศ
เนื่องจากตั๊กแตนเป็นสัตว์ที่ไวต่อสภาพอากาศอย่างมาก ไม่ชอบความชื้นสูง และไม่ชอบโดนฝนเพราะอาจทำให้เกิดเชื้อราและตายได้ จึงต้องมีการควบคุมสภาพอากาศให้เหมาะกับการเลี้ยง โดยส่วนมากรูปแบบของโรงเรือนตั๊กแตนทำจากท่อ PVC หรือโครงเหล็ก ประกอบกัน เหมือนโรงเรือนปลูกผักทั่วไปและมีพลาสติกคลุมโรงเรือนอยู่ด้านบนสำหรับป้องกันฝน ควรเลือกเป็นพลาสติกสูตรมาตรฐานเพราะตั๊กแตน ชอบแสงแดดสว่างมาก ส่วนด้านข้างควรเลือกใช้มุ้งกันแมลงเพื่อป้องกันมดไม่ให้เข้ามากัดตั๊กแตนปาทังก้า (แนะนำเป็นมุ้งกันแมลง 32 ตา)
การเติบโตของตั๊กแตนจะดีมากที่สุดถ้าอยู่ในอุณหภูมิช่วง 25-35 องศาฯ อากาศถ่ายเทได้ดี, มีแสงแดดส่องถึงทั้งวันและไม่มีการพ่น สารเคมีในบริเวณนั้น ในกรณีที่มีฝนตกอาจจะเปิดไฟในโรงเรือนเพื่อลดความชื้นสะสมในโรงเรือนได้
อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้น ตั๊กแตนปาทังก้าเป็นสัตว์ที่เลี้ยงได้ง่าย แค่ให้หญ้าเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอต่อการเจริญเติบโตแล้ว ชนิดหญ้า ที่นิยมคือหญ้าอัลฟัลฟ่า แต่ในกรณีที่ไม่มีหญ้า สามารถให้อย่างอื่นแทนได้ เช่น ผักกาดหอม ฟักทอง หรือผลไม้อื่นๆเป็นต้น
1. การเตรียมถ้วยหรือกล่องที่มีความลึกไม่มากไว้ 1 ชิ้น 2. ผสมดิน 2 ส่วน ต่อ ขุยมะพร้าว 1 ส่วน (ถ้าไม่มีขุยมะพร้าวให้ใช้ดินทั้งหมด) 3. นำดินที่ผสมขุยมะพร้าวเรียบร้อยแล้วมาใส่ถ้วยที่เตรียมไว้ แล้วกดให้แน่นเพื่อไม่ให้ลูกตั๊กแตนที่ฟักออกมามุดลงไปใต้ดิน 4. พรมน้ำในดินให้ชุ่มพอประมาณ ไม่ให้แฉะเกินไป ถ้าแฉะไปไข่อาจจะเน่าได้ 5. นำไข่ไปเลี้ยงไว้ให้เต็มถ้วย โดยห้ามวางไข่ทับกัน 6. ผสมดิน 1 ส่วนต่อขุยมะพร้าว 2 ส่วน และโรยไว้บนไข่(ห้ามกด) เพื่อเป็นการอบไข่ให้พร้อมฟักออกมา 7. พรมน้ำซ้ำอีกครั้ง (ทำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง) 8. นำผ้ามาคลุมถ้วยที่มีไข่เพื่ออบไข่ 9. รอประมาณ 7-15 วัน ลูกตั๊กแตนก็จะฟักออกมา
1. นำออกไปตากแดด (โรงเรือนแบบพกพา) เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อตั๊กแตน
2. ให้อาหารตามความเหมาะสม
3. หมั่นเก็บของเสียหรือมูล เพื่อไม่ให้เกิดเชื้อโรค
4. นำฟางหรือแกลบมารองไว้เพื่อดูดซับของเสียและกลิ่น
5. ห้ามนำตั๊กแตนไปโดนฝน เพราะอาจจะเป็นเชื้อราและตายได้
6. ใช้ชอล์คขีดไว้รอบโรงเรือนเพื่อป้องกันมดมากัดตั๊กแตน หรือหล่อน้ำไว้
7. หาที่เกาะให้ตั๊กแตน เพราะหลังจากลอกคราบตั๊กแตนจะอ่อนแอมาก อาจจะโดนตัวอื่นเหยียบตายได้ถ้าไม่มีที่ให้เกาะ
8. ตั๊กแตนอายุประมาณ 30 วันจะเริ่มวางไข่ นำกระบะใส่ทรายผสมกับน้ำให้มีความชื้นพอประมาณ และใส่ไว้ในโรงเรือนเพื่อให้ตั๊กแตนจับคู่และออกไข่
9. ตั้งโรงเรือนให้อยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดีและมีแสงแดดจัด ถ้าแสงน้อยหรือทึบเกินไปตั๊กแตนจะกินอาหารได้น้อยและโตช้า
อายุที่เหมาะกับการเก็บไปขายคือ 30-40 วัน หรือหลังจากวางไข่ (ถ้าแบบมีไข่ในตัวตั๊กแตน จะขายได้ราคาสูงกว่า) โดยส่วนมากจะใช้มือเก็บ แนะนำให้ใส่ถุงมือก่อนเพราะอาจจะโดนกัดได้
ถ้าเริ่มเลี้ยงจากไข่ 1กิโลกรัม จะเลี้ยงได้ประมาณ 25กิโลกรัม และได้ไข่ประมาณ 1กิโลกรัมขึ้นไป ตัวตั๊กแตนปาทังก้า 1กิโลกรัม ราคาประมาณ 500บาท/กก. ไข่ตั๊กแตนปาทังก้า 1กิโลกรัม ราคาประมาณ 10,000บาท/กก. ถ้านำไปทอดขาย 100กรัม ราคาประมาณ 120บาท ลงทุนซื้อไข่เพียงครั้งเดียว ก็สามารถสร้างรายได้ได้เรื่อยๆโดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มอีก
ไม่แปลกเลยที่ตั๊กแตนปาทังก้าจะเป็นที่นิยมเลี้ยงในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถสร้างรายได้ได้หลักหมื่น เลี้ยงได้ง่าย ใช้เวลาในการเลี้ยงสั้น แพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว ใช้เงินลงทุนไม่สูงมาก อีกทั้งยังมีโปรตีนและกรดอะมิโนสูงมาก นับได้ว่า ตั๊กแตนปาทังก้าเป็นซุปเปอร์ฟู้ดที่ให้โปรตีนและพลังงานที่สูงมาก อีกทั้งคอเลสเตอรอลต่ำเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ประเภทอื่นๆ