HDPE คืออะไร? ทำไมจึงเป็นวัสดุยอดนิยมในหลากหลายอุตสาหกรรม

HDPE คืออะไร?

     เคยสงสัยกันไหมครับว่าทำไมแผ่นพลาสติกที่เรียกว่าแผ่น HDPE Geomembrane หรือ HDPE sheet ถึงได้รับความนิยมอย่างมากใน
หลากหลายอุตสาหกรรม?ความลับของ HDPE ที่เป็นวัสดุทนทานและใช้งานได้หลากหลายนี้จะถูกเปิดเผยในบทความนี้ พร้อมกับคุณสมบัติและ
ประโยชน์ที่คุณไม่ควรพลาด!

      HDPE ย่อมาจาก High-Density Polyethylene เป็นวัสดุพลาสติกประเภทหนึ่งที่มีความหนาแน่นสูงและคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์
ทำให้เป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเกษตร การเลี้ยงสัตว์น้ำการทำบ่อบำบัดน้ำเสีย บ่อไบโอแก๊ส
การก่อสร้าง การบรรจุภัณฑ์
และอื่นๆ เรามาเจาะลึกกันว่าดีกว่าครับว่า
HDPE มีคุณสมบัติอะไรที่ทำให้มันโดดเด่นและเหมาะสมกับการใช้งานในหลากหลายรูปแบบ

คุณสมบัติของแผ่น HDPE(HDPE Sheet)

คุณสมบัติของแผ่น HDPE (HDPE Sheet)

HDPE คือ (High-Density Polyethylene) เป็นวัสดุพลาสติกที่มีความหนาแน่นสูงและมีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์มากกว่าแผ่นพลาสติก
ชนิดอื่นๆเช่น ความแข็งแรงทนทาน ความยืดหยุ่นเป็นต้น ทำให้เป็นที่นิยมในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยมีคุณสมบัติที่โดดเด่นดังนี้:

ความแข็งแรงและทนทาน

HDPE มีความแข็งแรงสูงทนทานและสามารถรับน้ำหนักได้ดี ทนต่อแรงกระแทกได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถทนต่อการ
ขีดข่วนและการเสียดสีได้ดี ทำให้เป็นวัสดุที่เหมาะสมต่อการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย

ความยืดหยุ่น:

HDPE มีความยืดหยุ่นที่ดี สามารถโค้งงอได้โดยไม่แตกหัก ทำให้สามารถปรับตัวเข้ากับพื้นผิวและโครงสร้างได้ง่าย นอกจากนี้ยังสามารถ
ต้านทานการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจากแรงดึงและแรงกดได้ดีอีกด้วย

อายุการใช้งานยาวนาน:

HDPE มีความทนทานอยากมากต่อการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าพลาสติกประเภทอื่นๆ
ซึ่งแผ่น HDPEของVSCจะมีอายุการใช้งานได้มากกว่า 10 ปีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความหนาและลักษณะการใช้งานและวิธีการติดตั้งที่ถูกต้อง
ทำให้สามารถใช้งานได้ในระยะยาวรวมถึงลดความถี่ในการเปลี่ยนแผ่นและลดต้นทุนในระยะยาวได้อีกด้วย

ทนต่อสารเคมีได้เป็นอย่างดี:

หนึ่งในคุณสมบัติที่โดดเด่นของแผ่น HDPE คือความสามารถในการทนต่อสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นกรด ด่าง หรือสารเคมีอื่นๆ แผ่น HDPE
จะไม่เกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพ ทำให้เหมาะสมอย่างมากสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีสารเคมีสูง เช่น
การทำบ่อบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม การทำบ่อขยะหรือบ่อไบโอแก๊ส

ทนทานต่อรังสี UV:

HDPE สามารถทนต่อรังสี UV จากแสงแดดได้ดี ไม่เกิดการเสื่อมสภาพหรือกรอบแตกเมื่อถูกใช้งานกลางแจ้ง ทำให้เหมาะสมสำหรับ
การใช้งานภายนอกหรือการตากแดดกลางแจ้งได้ เช่น บ่อกักเก็บน้ำ, บ่อเลี้ยงกุ้ง/ปลา

การทนต่ออุณหภูมิ:

สามารถทนต่ออุณหภูมิที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความร้อนสูงหรือต่ำ โดยไม่เกิดการละลายหรือเสียรูป ทำให้เหมาะกับการใช้งานใน
สภาพแวดล้อมที่มีความร้อนสูงหรือการแดดจัดได้


ประโยชน์ของการใช้งานแผ่น HDPE Geomembrane ในอุตสาหกรรมต่างๆ

HDPE ปูบ่อเก็บน้ำ

HDPE ปูบ่อเก็บน้ำ

HDPE Geomembrane เป็นวัสดุที่เหมาะสมอย่างมากสำหรับการสร้างบ่อเก็บน้ำ ไม่ว่าจะเป็นบ่อน้ำดื่มหรือบ่อเก็บน้ำสำหรับการเกษตรเนื่องจาก
มีความทนทานและแข็งแรงต่อการกดทับ หรือแรงดันภายในบ่อน้ำ และทนทานต่อการเสื่อมสภาพจากแสงแดดเมื่อใช้งานกลางแจ้งแผ่น HDPE
สามารถป้องกันการรั่วไหลของน้ำได้ดี ทำให้น้ำไม่ซึมลงดิน แต่จะขึ้นอยู่กับวิธีการติดตั้งที่ถูกต้องด้วย และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานทำให้เป็น
ตัวเลือกที่คุ้มค่าสำหรับการลงทุนในระยะยาว เช่นการปูบ่อกับเก็บสำหรับสวนทุเรียน เป็นต้น

HDPE ปูบ่อกุ้ง

HDPE การเลี้ยงสัตว์น้ำ

การเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ฟาร์มปลา, ฟาร์มกุ้ง การปู แผ่น HDPE มักนิยมใช้ความหนาที่ 750-1000 ไมครอนเป็นหลัก (0.75-1.00 มิลลิเมตร)
โดยสามารถป้องกันการรั่วไหลของน้ำได้ดี ช่วยรักษาระดับน้ำในบ่อ ช่วยลดความเสี่ยงจากการสูญเสียน้ำ รวมถึงช่วยป้องกันการซึมของสาร
ปนเปื้อนจากดินเข้าสู่น้ำในบ่อเลี้ยง ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพน้ำได้และปรับน้ำให้เหมาะสำหรับการเลี้ยงอีกด้วย ช่วยสร้างสภาพแวดล้อม
ที่เหมาะสมสำหรับการเติบโตของสัตว์น้ำ ทำให้สัตว์น้ำมีการเจริญเติบโตที่ดีมากขึ้น มีสุขภาพแข็งแรง ลดการติดเชื้อโรค และช่วยเพิ่มผลผลิตได้ดี
จึงสามารถสร้างรายได้ที่ดีขึ้นตามลำดับ

บ่อบำบัดน้ำเสีย

บ่อบำบัดน้ำเสีย

HDPE Geomembrane เป็นวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการทำบ่อบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากมีความทนทานต่อสารเคมีส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นกรด
ด่าง หรือสารละลายบางชนิด สามารถป้องกันการรั่วไหลของน้ำเสียได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถทนต่ออุณหภูมิที่หลากหลาย ทำให้สามารถเก็บ
น้ำเสียในบ่อบำบัดได้อย่างดี ช่วยลดความเสี่ยงในการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและน้ำใต้ดิน

บ่อไบโอแก๊ส

บ่อไบโอแก๊ส

HDPE Geomembrane ถูกใช้ในการปูและคลุมบ่อไบโอแก๊สเพื่อกักเก็บแก๊สไว้ภายในลูกโป่ง ป้องกันการรั่วไหลของก๊าซและของเหลวเพื่อเก็บ
ไว้ใช้สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใช้สำหรับในครัวเรือน ทำให้ประหยัดค่าไฟลงอยางมาก โดยมักนิยมใช้ในฟาร์มหมู เป็นต้น เนื่องจากแผ่นมีความ
ทนทานต่อแรงดันจากก๊าซได้ดี นอกจากนี้ยังมีความยืดหยุ่นที่ช่วยให้การติดตั้งหรือการปูคลุมบ่อไบโอแก๊สเป็นไปอย่างง่ายดายและมีประสิทธิภาพ

นาเกลือ

นาเกลือ

การทำนาเกลือระบบใหม่ นิยมใช่แผ่น HDPE Geomembrane ที่ความหนา 1,000 ไมครอนเป็นต้นไป (1.00 มิลลิเมตร) โดยปัจจุบันนิยมใช้ใน
การปูพื้นนาเกลือระบบใหม่มากขึ้น เพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำทำเล และป้องกันสิ่งสงปรกจากดิน ทำให้เกลือไม่สัมผัสกับดินโดยตรงสามารถ
เก็บเกลือได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกลือมีสีขาวสะอาดมากกว่าการทำแบบบ่อดิน ทำให้ขายได้ในราคาที่ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะการส่งออกต่างประเทศนอก
จากนี้ยังช่วยลดการสูญเสียเกลือและเพิ่มผลผลิตเกลือในแต่ละรอบการผลิตอีกด้วย


วิธีการติดตั้งและการดูแลรักษาแผ่น HDPE

วิธีติดตั้งแผ่น HDPE

วิธีติดตั้งแผ่น HDPE

การเตรียมพื้นที่:  พื้นที่ที่ต้องการปูแผ่น HDPE ควรถูกทำความสะอาดและปรับระดับให้เรียบ เพื่อลดการเกิดรอยแยกหรือการซึมของน้ำ
การวางแผ่น:      วางแผ่น HDPE ประกันกัน 2 ผืนให้เรียบและปิดทุกช่องว่าง เพื่อป้องกันการรั่วไหลของน้ำหรือสารเคมี
การเชื่อมต่อ:      ใช้เครื่องเชื่อมด้วยความร้อนหรือ Welding Machine เชื่อมต่อแผ่น HDPE ที่วางประกบกัน 2 ผืนด้วยความร้อนให้แน่น
                      หนาและป้องกันการรั่วไหล การเชื่อม HDPE ต้องใช้ความร้อน และแรงกดทับที่เหมาะสมเพื่อให้การเชื่อมต่อแน่นหนาและคงทน

วิธีการติดตั้ง HDPE ด้วย Welding Machine : https://vt.tiktok.com/ZSYxFmQsU/

การดูแลรักษาแผ่น HDPE

การทำความสะอาด: ควรทำความสะอาดแผ่น HDPE อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการสะสมของคราบสกปรกและสิ่งปนเปื้อนที่อาจทำให้แผ่นเสื่อมสภาพ
การตรวจสอบ: ตรวจสอบแผ่น HDPE เป็นระยะเพื่อตรวจหาและซ่อมแซมรอยรั่วหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่าแผ่นยังคงมีประสิทธิภาพในการใช้งาน


เปรียบเทียบระหว่างแผ่น HDPE กับวัสดุอื่นๆ

เปรียบเทียบระหว่างแผ่น HDPE

► แผ่น HDPE vs. PVC

ความแข็งแรง :     HDPE มีความแข็งแรงและทนทานสูงกว่า PVC ทำให้เหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องการความทนทานมากกว่า
การทนต่อสารเคมี : HDPE ทนต่อสารเคมีได้ดีกว่า PVC ทำให้สามารถใช้งานในสภาพแวดล้อมที่มีสารเคมีสูงได้
ราคา :                 HDPE อาจมีราคาสูงกว่า PVC แต่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ทำให้คุ้มค่าในการลงทุนระยะยาว

► แผ่น HDPE vs. LDPE

ความแข็งแรง : แผ่น HDPE Geomembrane มักจะมีความหนาที่มากกว่า ตั้งแต่ 500-2000 ไมครอน (0.50-2.00 มิลลิเมตร)
จึงแข็งแรงและทนทานกว่าแผ่นประเภท LDPE ซึ่งมักจะมีความหนาที่น้อยกว่า แผ่น LDPE จึงเหมาะกับงานบางประเภท เช่น บ่อกักเก็บน้ำ,
ฟาร์มกุ้ง เป็นต้น ในขณะที่แผ่น HDPE Geomembrane จะเหมาะกับงานที่ต้องการความแข็งแรง ทนทานมากขึ้น ทนต่อแรงเจาะทะลุมากขึ้น
เช่น บ่อบำบัดน้ำเสีย, บ่อไบโอแก๊ส เป็นต้น

การใช้งาน : การเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับความต้องการและลักษณะของงานที่ต้องการนำไปใช้งาน แผ่น HDPE และ LDPE มี
คุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกัน โดย HDPE มีความแข็งแรงและทนทานสูง เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความแข็งแรงและ
ความทนทานต่อสารเคมีอย่างมาก ในขณะที่ LDPE มีความยืดหยุ่นสูงและน้ำหนักเบามากกว่า และต้นทุนที่ถูกกว่า วิธีการใช้งานของ
ทั้ง 2 ชนิดนี้จึงแตกต่างกันอย่างชัดเจน


คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับแผ่น HDPE

► แผ่น HDPE เหมาะกับการใช้งานแบบไหน?

แผ่น HDPE เหมาะกับการใช้งานในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น การเกษตร การเลี้ยงสัตว์น้ำ การก่อสร้าง และการบรรจุภัณฑ์ เนื่องจาก
มีความทนทานและสามารถปรับใช้งานได้หลากหลาย

► HDPE หนาเท่าไหร่บ้าง?

ความหนา HDPE จะเริ่มต้นที่ 0.50-2.00 มิลลิเมตร  (500-2000 ไมครอน) การเลือกใช้ HDPE หนาเท่าไหร่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับงานที่ใช้และ
งบประมาณ เช่น บ่อกักเก็บน้ำ อาจเหมาะกับความหนา 0.50-1.50 มิลลิเมตร (500-1500 ไมครอน) ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นดินและขนาดบ่อ
ที่ต้องการใช้ แต่หากเป็นบ่อบำบัดน้ำเสียหรือบ่อไอโบแก๊สจะนิยมใช้ที่ความหนาเริ่มต้นที่ 1.00-2.00 มิลลิเมตร (1000-2000 ไมครอน)
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปรับสภาพพื้นที่จะปูอีกด้วย

 HDPE ราคาประมาณเท่าไหร่?

ราคาของแผ่น HDPE มักจะแปรผันตามราคาตลาดของเม็ดวัตถุดิบหลัก และยังขึ้นอยู่กับพื้นที่ใช้และความหนาที่ต้องการใช้งาน
ต้องการสอบถามเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเราได้ที่
Line : @visandson

► มาตรฐานสำหรับ HDPE ในระดับสากลคืออะไร?

GRI-GM13

มาตรฐาน HDPE คือ GRI-GM13 เป็นมาตรฐานที่สำคัญสำหรับการผลิตและการใช้งานแผ่น โดย GRI-GM13 เป็นการวัด
คุณสมบัติต่างๆซึ่งจะประกอบไปด้วย

1. ความหนา (Thickness)
2. ความหนาแน่น (Density)
3. ความต้านทานแรงดึง (Tensile Properties)
4. ความยืดหยุ่น (Elongation)
5. ความต้านทานต่อแรงกระแทก (Puncture Resistance)
6. ความต้านทานต่อการฉีกขาด (Tear Resistance)
7. Stress Crack Resistance
8. การกระจายตัวของสีดำ (Carbon Black Dispersion)
9. Carbon Black Content
10. ค่า Oxidative Induction Time (OIT) ที่มีทั้งแบบ standard OIT และ high pressure OIT
11. Oven Aging
12. UV Resistance

HDPE Geomembrane

บทสรุป

แผ่น HDPE Geomembrane เป็นวัสดุที่ทนทานและใช้งานได้ในหลายอุตสาหกรรม เช่น การเก็บน้ำ การเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำบ่อบำบัดน้ำเสีย
บ่อขยะ การปูบ่อไบโอแก๊ส เหมืองแร่ และนาเกลือ ด้วยคุณสมบัติเด่นอย่างความแข็งแรง ยืดหยุ่น การทนต่อสารเคมี และทนต่ออุณหภูมิ
ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างดี ทำให้แผ่น
HDPE ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวและเพิ่มประสิทธิภาพงาน อีกทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
อีกด้วย หากคุณต้องการวัสดุคุณภาพสูงที่ใช้งานได้หลากหลาย แผ่น
HDPE Geomembrane ของ VSC คือตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณ
และขอบคุณที่เข้ามาอ่านบทความนี้ครับ หวังว่าท่านจะได้รับข้อมูลของ HDPE ไม่มากก็น้อย..